PDPA หรือ Personal Data Protection Act ซึ่งจะประกาศใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพราะที่ผ่าน ๆ มาข้อมูลมหาศาลถูกจัดเก็บ ประมวลผล นำไปใช้ได้อย่างอิสระเกินไป ชนิดที่ว่าแทบจะรู้ความต้องการได้ดีกว่าเรา ยังไม่ทันไปเสริชหาใน Google เพียงแค่คิดในใจก็แสดงออกมาบน Facebook, Instagram แล้วซึ่งข้อมูลแบบนี้เข้าถ่ายการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างเห็นได้ชัด และนับว่าจะมากขึ้นเรื่อย ๆด้วยเหตุนี้จึงได้มีกฎหมาย PDPA เพื่อคุ้มครองพื้นที่ส่วนบุคคลบนโลกดิจตอลขึ้นมา
ข้อมูลที่สามารถระบุตัวบบุคลไม่ว่าทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นชื่อ, นามสกุล, เบอร์โทร, อีเมล์, LINE ID, เลขประจำตัวประชาชน ข้อมูลเหล่านี้ล้วนมีความอ่อนไหวอย่างเห็นได้ชัดรวมถึงข้อมูลประเภทระบุตัวตนทางอ้อมใน Cookies ID , IMEI หรือ Device ID เมื่อมีการถูกเชื่อมกับ Server เพื่อระบุตัวอุปกรณ์ แม้ไม่เปิดเผยชื่อ นามสกุล เพราะอุปกรณ์พวกนี้นำข้อมูลที่มากพอ มาเรียนรู้รสนิยม ความชอบ ไม่ชอบ จนถูกยัดเยียดข้อมูลทางการตลาดให้กับผู้บริโภคเต็มๆ
จุดนี้เองทำให้ PDPA เข้ามาบังคับให้หน่วยงาน ธุรกิจ ปฏิบัติติอย่างเคร่งครัด ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนถึงจะนำไปใช้ได้ และหากฝ่าฝืน เกิดการฟ้องร้องกันในคดี ทั้งทางแพ่ง อาญา และปกครอง จะมีโทษปรับสูงถึง 5 ล้านบาทและจำคุกสูงสุด 1 ปี
การถ่ายรูป แบบใดจะผิดหรือไม่ผิดกฎหมาย
สรุปสั้นๆ การกระทำทั้งหมดขึ้นอยู่กับเจตนา หากถ่ายภาพเซลฟี่แล้วติดภาพของบุคคลอื่นเจ้าของภาพไม่สามารถฟ้องคนถ่ายได้เพราะกฎหมาย มีข้อยกเว้นคือการถ่ายภาพเพื่อประโยชน์ส่วนตัวนำไปลงสื่อโซเชียลโดยไม่เกิดรายได้ไม่ถือว่าผิดกฎหมายหรืองานวรรณกรรม ศิลปกรรมและงานสื่อสารมวลชนที่ดำเนินการตามแนวจริยธรรมทำไปเพื่อประโยชน์สาธารณะชนหากติดภาพผู้อื่นไปไม่ถือเป็นการกระทำความผิดตามกฏหมาย แต่เพื่อมารยาทที่ดี หากคนอื่นที่เราถ่ายไปติดท้วงติงขอให้ลบหรือเบลอภาพ เราก็ควรจะทำตามเพื่อความสบายใจของเขา
การถ่ายภาพในที่สาธารณะ หรือ เซลฟี่ หรือ ถ่ายภาพตนเองแล้วไปติดภาพของคนอื่นๆ ถ้าเรานำภาพดังกล่าวไปเผยแพร่จะมีความผิดตามกฎหมายนี้หรือไม่
คำตอบ จะผิดหรือไม่ คีย์เวิร์ดสำคัญของกฎหมาย จะอยู่ที่ #บทนิยาม ของคำว่า “ข้อมูลส่วนบุคคล” โดยข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 6) หมายถึง 1. ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล 2. ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม 3.ทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ และจะต้องครบทั้ง (1) -(3) เท่านั้น เพราะนี้คือองค์ประกอบของความผิด
ถามว่า เห็นแต่ใบหน้า รู้มั้ยว่าเขาเป็นใคร, เห็นแต่ชื่อ รู้มั้ยเขาเป็นใคร, เห็นแต่นามสกุล รู้มั้ยเขาเป็นใคร, เห็นแต่ชุดที่สวมใส่ รู้ไหมเขาเป็นใคร?
เรื่องนี้ไม่รวมถึงการรู้จักกันเป็นการส่วนตัว เช่น เราถ่ายภาพตัวเราเองในที่สาธารณ ะ และมีภาพของญาติใครคนใดคนหนึ่งติดมาในภาพด้วย หากมีญาติของเขาเห็นและรู้ว่าคนในภาพเป็นญาติกรณีแบบนี้ ยังไม่ถือเป็นความผิดเพราะจะต้องเป็นกรณีคนทั่วๆไปทราบถึงตัวบุคคล การจะเป็นความผิดตามกฎหมายนี้ได้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆนะครับ เพราะจะต้องเป็นการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล จนกระทั่งเห็นว่าสามารถระบุตัวบุคคลของเขาได้ และก็จะต้องเป็นการจงใจหรือเจตนาเปิดเผยเพื่อให้สามารถระบุตัวบุคคลได้ด้วย
ฉะนั้น ลำพังแต่การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง แต่ถ้ายังไม่อาจจะระบุตัวบุคคลได้ ย่อมไม่เป็นความผิดตามกฎหมายนี้ แต่ข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องถึงระดับขนาดไหนจึงจะระบุตัวบุคคลได้นั้น อันนี้เป็นเรื่องที่ต้องรอแนวการตัดสินคดีของศาลต่อไปสำหรับผมเห็นว่า ข้อมูลส่วนบุคคลที่พอจะระบุตัวบุคคลได้ อย่างน้อยต้องมี ดังนั้น
ตัวอย่างที่หนึ่ง
- ใบหน้า
- ชื่อ-นามสกุล
ตัวอย่างที่สอง
- ใบหน้า
- ชื่อของบิดา มารดา
ตัวอย่างที่สาม
- ใบหน้า
- ชุดที่ใส่
- โลโก้ของที่ทำงานที่ติดอยุ่ที่ชุดที่ใส่
ตัวอย่างที่สี่
- ใบหน้า
- ชุดนักเรียนที่สวมใส่
- ตราหรือสัญลักษณ์ของโรงเรียน
ดังนั้นถ้าเราถ่ายภาพหรือเซลฟี่ แล้วบังเอิญไปติดภาพใบหน้าของคนอื่น ถ้าเห็นแต่เฉพาะใบหน้าอย่างเดียว ก็จะยังไม่เป็นความผิดตามกฎหมายนี้ครับ แล้วมาติดตามตอนต่อไปและข้อกฎหมายอื่นๆได้เพิ่มเติมทาง Sanpatong Club นะครับ
ศิริศักดิ์ เรือนศรี (ทนายมาริโด้)
ที่ปรึกษากฎหมายเว็บไซต์ Sanpatong.info
4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA
- การถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมจะผิด PDPA
ตอบ กรณีการถ่ายรูป-ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปไม่เจตนา และการถ่ายรูปถ่ายคลิปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว - ถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิด PDPA
ตอบ สามารถโพสท์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล - ติดกล้องวงจรปิดแล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิด PDPA
ตอบ การติดกล้องวงจรปิด ภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน - เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้
ตอบ ไม่จำเป็น ต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว
(1) เป็นการทำตามสัญญา
(2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ
(3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล
(4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ
(5) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
(6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง
ที่มาข้อมูล PDPC Thailand