นายอุดม หวานจริง ศิลปินอิสระ และอาจารย์พิเศษคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่าได้รับโอกาศทางทางผู้อำนวย การทางหลวงชนทบที่ 10 เชียงใหม่ ซึ่งมีแนวคิดอย่างให้มีภาพวาดติดฝาผนังอุโมงค์ทางลอด จึงได้ริเริ่มจากจุดนี้ ก็มีการหากรืออขออนุญาตต่ออธิบดีกรมทางหลวงชนบทว่าผลตอบรับจะเป็นอย่างไร แต่หลังจากได้รับการอุมัติก็เริ่มทำเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามแนวคิดการวาดภาพทางผู้อำนวยการทางหลวงชนทบที่ 10 เชียงใหม่ให้อสิระทางความคิด ซึ่งตนเองได้ขับรถผ่านเส้นมาหลายครั้งชื่นชอบ ความเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว จึงได้นำจุดเด่นทางธรรมชาติของดอยอิทนนท์ อยู่ด้านบริเวณฝั่งซ้ายมือขาเข้าเมืองเชียงใหม่ ส่วนฝั่งซ้ายจะเป็นวิถีชีวิตและ วัฒนธรรมต่างๆ ที่หลายคนอาจไม่เคยได้สัมผัสมาวาดลงไว้บนฝาผนังแห่งนี้ ก็จะเป็นนำร่อง หรือต้นแบบแห่งแรกของจังหวัดเชียงใหม่ อาจจะเป็นแห่ง แรกของประเทศไทยก็ได้ ที่ใช้การวาดจากฝีมือคน แทนการใช้ภาพกราฟฟิกเหมือนของต่างประเทศ
ส่วนระยะเวลาการวาดต่อช่วง 30 วัน ใช้ระยะเวลารวม 120 วัน โดยใช้นักวาด จำนวน 5 คน ที่จะมาวาดแต่ละช่วงต่อจากกัน ซึ่งใช้สีทาบ้านแบบชนิด พิเศษที่ทนทานไม่ซีดจางอยู่ได้นานนับสิบปี ซึ่งทุกอย่างจะเน้นเป็น
ธรรมชาติและวิถีชีวิตความโด่นเด่นของพื้นที่เป็นหลักตามที่แนวคิดของตนเอง ซึ่ง จุดลำบาคช่วงที่สูงถึง 8 เมตรต้องใช้ไม้ต่อแปลงทาสีต่อไป ต่ำสุด 2.50 เมตร โดยพื้นหลัจะเป็นสีธรรมชาตินำลวดลายต่างๆ ลงไปจะโด่นเด่นสวยงาม ซึ่งตอนนี้ก็มีประชาชนในพื้นที่มายืนชมกันในช่วงเย็น เพราะอุโมงค์แห่งนี้จะสร้างมารองรับให้สามารถมองลงมาด้านล่างเป็นทางเดิน ทำให้ชมภาพ วาดหรือจะถ่ายภาพจากด้านบนได้อย่างสะดวกปลอดภัย ก็จะทำให้กลายเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์คของอำเภอสันป่าตองและแม่วาง
ขอบคุณเนื้อหาจาก Presspeoplethailand
รูปภาพจาก Iamseason Iamseason (อนุญาตให้เผยแพร่ผ่านทาง sanpatong.info)